บทความ

5 คำแนะนำ เรียนศัพท์ภาษาอังกฤษอย่างไรให้ใช้ได้แบบไม่ลืม!

คุณกำลังเจอปัญหาเหล่านี้อยู่หรือเปล่า ... "ทำไมเรียนคำศัพท์อังกฤษมาไม่นานก็ลืม" "ทำไมเรียนภาษาอังกฤษแล้วเอาไปพูดไม่ได้สักที" ถ้าคุณกำลังเจอปัญหานี้อยู่ อาจเพราะคุณยังไม่รู้วิธีว่าต้องทำอย่างไรคำศัพท์ที่ได้เรียนมาจึงอยู่กับเราไปได้นานและพร้อมสำหรับการนำมาใช้ในทันทีที่ต้องการ ถ้าคุณกำลังอยากจะแก้ปัญหานี้ วันนี้เรามีเทคนิคจำศัพท์ภาษาอังกฤษแบบไม่ลืมมาฝากครับ ไปติดตามพร้อมกันได้เลย!   เราเรียนรู้คำศัพท์จากช่องทางไหนได้บ้าง?   วิธีที่จะทำให้ได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่อย่างเร็วที่สุดคือการอ่าน ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข่าว นิยายและการ์ตูน โพสต์จากบล็อกต่าง ๆ หรือแม้แต่ความเห็นในโซเชียลมีเดีย ถ้าอยากได้ศัพท์เพิ่ม เราขอแนะนำว่าหากชอบอ่านอะไรในภาษาไทย ลองสลับไปอ่านเรื่องเหล่านั้นในภาษาอังกฤษบ้าง วิธีนี้จะให้คุณได้เห็นคำแปลหรือความหมายของศัพท์ใหม่ๆอยู่เสมอ ซึ่งช่วยให้คุณจำมันได้ดีขึ้น หากใครไม่ชอบอ่าน แนะนำให้ใช้เป็นการดูและฟัง สองวิธีนี้ก็ทำให้ได้รู้ศัพท์เพิ่มจำนวนมากเช่นเดียวกับการอ่านครับ โดยให้เริ่มจากสิ่งที่คุณสนใจ เช่น หากคุณชอบทำอาหาร แทนที่จะดูคลิปสอนทำอาหารเป็นภาษาไทย ก็ลองดูคลิปภาษาอังกฤษบ้าง สิ่งที่คุณจะได้อย่างแน่นอนคือคำศัพท์ชื่อส่วนผสม อุปกรณ์ และคำศัพท์อธิบายวิธีการทำอาหารตั้งแต่การเตรียมไปจนถึงวิธีจัดเสิร์ฟ   5 วิธี ทำอย่างไรจึงไม่ลืมคำศัพท์ที่ได้รู้?   1. เริ่มเรียนจากคำศัพท์ที่สนใจหรือเกี่ยวข้องกับสายงาน การเรียนคำศัพท์ที่ยากเกินไป หรือเรียนคำศัพท์แบบสุ่มคำที่จะเรียน (เรียนคำไหนก็ได้ตามที่พบเห็น) วิธีแบบนี้นอกจากจะไม่ทำให้เราได้คำศัพท์ที่ตรงกับความต้องการแล้ว คำศัพท์ที่ได้มายังมีโอกาสน้อยมากที่เราจะได้นำไปใช้จริง เมื่อไม่ได้ใช้ ก็แน่นอนว่าจะไม่ได้ทบทวนคำศัพท์นั้น ในที่สุดก็จะลืมคำศัพท์ที่เพิ่งได้รู้ใหม่ไปในเวลาอันรวดเร็ว  วิธีที่ดีที่สุดสำหรับคนทำงาน ให้เริ่มต้นจากภาษาอังกฤษที่ได้ใช้ในสายงานของตัวเอง เช่น หากมีอาชีพเป็นพนักงานโรงแรม ควรเริ่มต้นเพิ่มคำศัพท์จากสิ่งที่อยู่รอบตัว หรือสถานการณ์ที่อาจได้พูดภาษาอังกฤษ , อาชีพพนักงานออฟฟิศควรมองหาคำศัพท์ที่อาจได้ใช้ในบทสนทนาทางโทรศัพท์ หรือคำศัพท์ที่อาจได้ใช้เมื่อเขียนอีเมล เมื่อได้เรียนสิ่งที่อยู่ในสายงานมากพอแล้ว จึงต่อยอดไปสู่คำศัพท์ในหมวดอื่นที่อยากรู้เพิ่มเติม สำหรับใครที่ไม่ได้ทำงาน การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือเริ่มต้นเรียนคำศัพท์จากสิ่งที่ตัวเองสนใจ เช่น หากคุณสนใจกีฬา นอกจากอ่านและดูข่าวกีฬาภาษาไทยแล้ว ก็ควรลองเริ่มต้นอ่าน หรือดูคลิปข่าวกีฬาสั้น ๆ ในภาษาอังกฤษด้วย วิธีนี้จะทำให้ได้คำศัพท์เพิ่มขึ้นมากโดยไม่รู้ตัว และจะทำให้เข้าใจคำศัพท์ในรูปประโยคจริง แทนการได้มาเฉพาะคำและความหมายเท่านั้น เมื่อเริ่มจากสิ่งที่สนใจ คุณจะเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เพราะคุณมีข้อมูลพื้นฐานในภาษาไทยมากพอที่จะเชื่อมโยงกับเรื่องราวและคำศัพท์ในภาษาอังกฤษได้ไม่ยาก   2. เรียนคำศัพท์แบบค่อยเป็นค่อยไป   เมื่อได้คำศัพท์จากเทคนิคข้อ 1 มาแล้ว เราควรรวบรวมสิ่งที่ได้เรียนเก็บไว้ด้วย อาจจะเป็นการจดไว้ในสมุด จดบันทึกในแอพโน้ตบนสมาร์ทโฟน หรือทำเป็นภาพคำศัพท์และ flashcard เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ ที่สำคัญคือไม่ควรเรียนคำศัพท์มากเกินไปต่อการเรียนหนึ่งครั้ง ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่แนะนำว่าวันละ 8 คำ ถือว่ากำลังพอดี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าเรียนรู้ได้มากแค่ไหน โดยวิธีทดสอบคือเมื่อถึงวันรุ่งขึ้น ให้ลองทดสอบตัวเองว่าคำศัพท์ที่เรียนไปเมื่อวานนั้น วันนี้จำได้อยู่กี่คำ นั่นแหละคือจำนวนที่พอเหมาะสำหรับการเรียนรู้ในหนึ่งวันของคุณ   3. ทบทวนคำศัพท์อย่างสม่ำเสมอ สมมติคุณเรียนคำศัพท์วันละ 5 คำ หากทำอย่างต่อเนื่องก็เท่ากับว่าผ่านไป 10 วัน คุณจะได้คำศัพท์ใหม่ 50 คำ แต่ถ้าเรียนเพิ่มอย่างเดียวโดยไม่ได้ทบทวนเลย 50 คำนั้นก็คงหายไปในที่สุด ฉะนั้นการทบทวนจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำ แต่จะทบทวนแบบท่องคำศัพท์และความหมายก็ดูจะน่าเบื่อเกินไป เราจึงขอแนะนำให้ทบทวนด้วยเทคนิค Spaced Repetition คือเมื่อวันแรกได้เรียนรู้ศัพท์แล้ว วันต่อมาให้ทบทวนครั้งแรก จากนั้นทิ้งระยะไปอีกสองสามวันก็ให้กลับมาทบทวนคำศัพท์นั้นอีกครั้ง โดยอาจจะทบทวนแค่คำศัพท์และความหมาย หรือพัฒนาไปเป็นการนำไปใส่ในประโยคตามเทคนิคต่อไปที่เรากำลังจะพูดถึงก็ได้ ทำแบบนี้อย่างสม่ำเสมอ ในที่สุดคำศัพท์ก็จะอยู่ใน Memory ของเรา พร้อมสำหรับการเรียกมาใช้งาน    4. ฝึกแต่งประโยคจากคำศัพท์ที่ได้เรียน สามเทคนิคแรกที่พูดถึงไป คือการทำให้เราได้คำศัพท์มา และทบทวนจนไม่ลืมคำศัพท์นั้น แต่มันจะไม่เกิดประโยชน์เลยถ้าไม่ได้นำไปใช้จริง หากให้นำไปใช้ทันที หลายคนก็อาจไม่มีความมั่นใจ ฉะนั้นวิธีที่เป็นไปได้คือลองฝึกนำคำศัพท์นั้นมาแต่งประโยคเองก่อน โดยเริ่มจากแต่งประโยคในใจและพูดออกมาเพื่อฝึกการออกเสียง เช่น หากได้เรียนคำว่า "about to ..." ซึ่งเป็นสำนวน (Idiom) และรู้ว่าคำนี้หมายถึง "กำลังจะ" (มีความหมายเท่ากับ going to รวมถึงทบทวนจนไม่ลืมคำนี้แล้ว ก็ควรเพิ่มความท้าทายด้วยการลองสร้างประโยคจากคำนี้ขึ้นมาให้ได้ เช่น   • The train is about to leave in 10 minutes. (รถไฟกำลังจะออกในอีก 10 นาที)   5. นำคำศัพท์ไปใช้จริง 4 เทคนิคที่บอกไป จะไม่เกิดผลใด ๆ ในทางปฏิบัติเลยถ้าคุณไม่ได้นำคำศัพท์ที่เรียนมาแล้วไปใช้จริง ซึ่งอาจจะเป็นการใช้ในสายงาน (ตอบอีเมล ตอบคำถามทางโทรศัพท์ ฯลฯ) ลองเอาคำที่ได้เรียนมาสร้างโพสต์ในโซเชียลมีเดีย (หากคำนั้นตรงกับเรื่องที่คุณสนใจและต้องการสื่อสาร) หรือวิธีที่ดีที่สุดคือการฝึกพูดกับเพื่อนและครูชาวต่างชาติ ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะได้นำคำที่มีอยู่มาใช้แล้ว ยังได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย   วิธีดีที่สุดที่จะทำให้ไม่ลืมคำศัพท์คือการที่ผู้เรียนได้นำไปใช้จริง ซึ่งหากหน่วยงานหรือโรงเรียนต้องการครูชาวต่างชาติเพื่อเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษให้นักเรียนหรือพนักงานในองค์กร เราขอแนะนำบริการ หาครูต่างชาติสอนภาษาอังกฤษ จาก "English Fluency Communication" เพราะที่นี่มีบริการอย่างครบวงจรทั้งจัดหาครูต่างชาติ (NES/NNES) จัดค่ายภาษาอังกฤษ และอีกหลายบริการซึ่งเกี่ยวข้องกับครูชาวต่างชาติ หากสนใจบริการของเรา คลิกเข้าไปได้ ที่นี่ ฝากรายละเอียดของคุณไว้ หรือติดต่อเราตามช่องทางที่ระบุไว้ในเว็บไซต์ได้เลย   ที่มาข้อมูล :-    https://www.englishclub.com/efl/articles/vocabulary/7-tips-for-learning-english-vocabulary/-    https://learnenglishteens.britishcouncil.org/exams/grammar-vocabulary-exams/tips-remember-words-    https://www.britishcouncil.org/voices-magazine/ten-ways-learn-new-words-language-learner-    https://www.grammarly.com/blog/how-to-improve-english/-    https://quizlet.com/-    https://www.engfluency.com/contact?lang=th ที่มารูปภาพ : https://pixabay.com/photos/girl-english-dictionary-read-2771936/

เรียนเรื่อง Tense อย่างไรให้เข้าใจง่าย ไม่เสียเวลาท่อง

วิชาภาษาอังกฤษ สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือเรื่องของ Tense แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ผู้เรียนส่วนใหญ่สับสน และมองว่าเป็นเรื่องยาก ในขณะที่ผู้สอนก็พยายามหาวิธีที่จะทำให้ Tense เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งก็ทำได้จริง ๆ  ทำไมเรื่อง Tense จึงเป็นเรื่องยากTense คือ การสื่อถึงเหตุการณ์ใดก็ตามในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน คือ •    I went to school ฉันไปโรงเรียนมาแล้ว - เป็น Past Tense •    I go to school ฉันไปโรงเรียน - เป็น Present Tense •    I will go to school ฉันจะไปโรงเรียน - เป็น Future Tense เหตุการณ์ทั้ง 3 นี้เกิดขึ้นคนละเวลา คือ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ที่เราเรียกว่า Tense ตามหลักไวยากรณ์เมื่อพูด หรือเขียนถึงเหตุการณ์ หรือการกระทำใดในเวลาที่ต่างกัน ถ้าเป็นภาษาไทย องค์ประกอบในประโยคก็คงจะเพิ่มมาแค่คำพูดบางคำเช่น คำว่า “แล้ว” หมายถึง เป็นอดีตไปแล้ว  “กำลัง” หมายถึง ปัจจุบัน “จะ” หมายถึง อนาคต แค่นี้ง่าย ๆ  แต่ในภาษาอังกฤษอาจจะมีมากกว่านั้น สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับหลายคนก็คือองค์ประกอบสำคัญของประโยคที่เป็น Verb หรือคำกริยาจะเปลี่ยนรูปแบบไปในแต่ละ Tense ซึ่งไม่ใช่แค่ 3 tenses นี้เท่านั้น Tense ในภาษาอังกฤษยังมีแยกย่อยออกไปอีกรวมทั้งหมด 12 Tenses ด้วยกัน พอได้ยินว่า Tenses เยอะขนาดนี้ ผู้เรียนหลายคนก็เริ่มกุมขมับเพราะกลัวว่าจะจำไม่ไหว ท่องเท่าไหร่จึงจะจำได้หมด ... อย่าเพิ่งถอดใจไป เรามีเทคนิคการจำง่าย ๆ ในบทความนี้ เทคนิคทำความเข้าใจ ใช้ Tense ให้เป็นการเรียนเรื่อง Tense หรือเรื่องใด ๆ ก็ตาม ถ้าทำให้เป็น Step แล้วค่อย ๆ ต่อยอดจากขั้นที่ง่ายไปขั้นที่ยากขึ้น สำหรับเรื่อง Tense นี้ เริ่มแรกเลยอย่าเพิ่งมองไกลไปถึง 12 tenses เพราะจะทำให้สับสนได้ เทคนิคการทำความเข้าใจให้เริ่มจากสิ่งที่ง่าย คือ1.    ยึด 3 tenses แรกเป็นหลักก่อน เอาแค่ Past Present Future2.    รู้โครงสร้าง (Structure) ของประโยคในเบื้องต้น เริ่มจากประโยคไม่ซับซ้อนที่มีองค์ประกอบคือ ประธาน (Subject) กริยา (Verb) กรรม (Object) ให้ได้ก่อน3.    จับองค์ประกอบที่เป็น Verb เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนรูปเสมอในแต่ละ Tense เพื่อบ่งบอกว่าประโยคนั้นเป็น Past, Present หรือ Future 4.    รู้กริยา 3 ช่อง ว่า Verb ใน Tense ทั้ง 3 ต้องเปลี่ยนรูปแบบอย่างไร ข้อนี้สำคัญมาก ต้องอาศัยท่องเล็กน้อย แต่ไม่ได้ยากเกินไป ฝึกใช้บ่อย ๆ จะช่วยให้จำได้ 3 ข้อนี้คือเบสิกของการเรียน Tense ให้ง่าย เมื่อคล่องแล้วจึงต่อยอดไปสู่ Tense อื่น ๆ ที่นอกเหนือจากนี้  มากกว่า Tense คือ Dimension มิติของเวลาเมื่อคล่องแล้ว เราจะไปต่อที่ Tense อื่น ๆ กันเลย Tense ที่เพิ่มเข้ามานอกจาก 3 Tenses นี้คืออะไร ทำไมต้องมีจำนวนมากขนาดนั้นTense ที่เพิ่มเข้ามาเราจะเรียกว่าเป็น Dimension ของเวลาที่ลึกลงไปอีก เป็นการขยายความถึงการกระทำใน Past, Present และ Future นั้นว่ามีมิติลึกแค่ไหน พูดง่าย ๆ ก็คือ เหตุการณ์ที่เกิด หรือการกระทำนั้นเกิดขึ้นนานแค่ไหน ตั้งแต่เมื่อไรถึงเมื่อไร เช่น ไปโรงเรียนตั้งแต่เมื่อเช้าและตอนนี้ยังอยู่ที่โรงเรียนไหม ทานอาหารผ่านไปแล้วนานแค่ไหนแล้ว หรือเพิ่งทานไปเมื่อสักครู่ ตอนนี้เลิกทานแล้วหรือยังทานอยู่ เป็นต้น Dimension เหล่านั้นคือ•    Simple เหตุการณ์ทั่วไปบอกเล่าความจริง •    Continuous เหตุการณ์กำลังเกิดและมีความต่อเนื่อง •    Perfect เหตุการณ์เกิดเป็นเวลานาน•    Perfect Continuous เหตุการณ์เกิดเป็นเวลานานและยังดำเนินต่อเนื่องเมื่อนำ Dimension เหล่านี้มาอยู่ในทุก ๆ Tense (Past, Present และ Future)  ก็จะทำให้แต่ละ Tense มีถึง 4 Dimension ดังนี้Past•    Past simple tense เช่น She watched TV •    Past continuous tense เช่น She was watching TV•    Past perfect tense เช่น She had watched TV•    Past Perfect continuous tense เช่น She had been watching TVPresent •    Present simple tense เช่น She watches TV•    Present continuous tense เช่น She is watching TV•    Present perfect tense เช่น She has watched TV•    Present Perfect continuous tense เช่น She has been watching TVFuture•    Future simple tense เช่น She will watch TV•    Future continuous tense เช่น She will be watching TV•    Future perfect tense เช่น She will have watched TV•    Future Perfect continuous tense เช่น She will have been watching TVรวมทั้งหมดจึงมี 12 tenses ด้วยกัน รวม Tense สำคัญ ที่ควรฝึกไว้ใช้ประจำอย่างที่บอกเทคนิคไปแล้วว่า ถ้าเริ่มต้นใหม่ ๆ ให้ยึด 3 tenses แรกให้ได้ก่อน เพราะเป็นแกนหลักของกาลเวลาทั้งหมด ฝึกใช้ 3 tenses นี้ บวกกับการผันกริยา 3 ช่องให้คล่อง การฝึกไม่ใช่การเขียนอย่างเดียว วิธีเรียน Tense ให้คล่องต้องฝึกทั้งเขียน อ่าน และพูด การพูดจะเป็นวิธีที่ช่วยได้มากเพราะการพูดทุกวันทำให้เกิดความเคยชิน คนต่างชาติเวลาที่เขาพูดจาสนทนากัน ในสมองของเขาจะมีภาพของ Dimension ต่าง ๆ ที่สามารถมองเห็นเป็นเส้นเวลาเลยว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไรถึงเมื่อไร ซึ่งทำให้เขาสามารถใช้ Tense ได้โดยอัตโนมัติ พูดคล่องไปตามธรรมชาติและเมื่อนำมาเขียนเป็นประโยคก็จะถูกหลักไวยากรณ์มากขึ้นการเรียนภาษาอังกฤษทุก ๆ เนื้อหานั้น ผู้เรียนต้องมีเทคนิคในการทำความเข้าใจ ผู้สอนก็ต้องมีเทคนิคในการสอนให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายเช่นกัน Engfluency บริษัทจัดหาครูต่างชาติ พร้อมที่จะให้คำแนะนำปรึกษา และให้บริการสรรหาผู้สอนที่เป็นเจ้าของภาษาซึ่งได้รับการรับรองสำหรับสอนภาษาต่างประเทศ (TEFL) มีศักยภาพในการสอนภาษาเป็นอย่างดี หากองค์กร หรือหน่วยงานใดต้องการ หาครูต่างชาติสอนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับตั้งแต่อนุบาล ไปจนถึง มัธยม นักศึกษา และระดับของวัยทำงาน บริษัท องค์กรที่ต้องการฝึกภาษาอังกฤษให้พนักงาน สามารถติดต่อ Engfluency ได้ทางอีเมล์ English.fluency8@gmail.com หรือโทร 089-5221546, 083-9910365 ที่มาข้อมูล :-    https://www.mylearnville.com/base-past-pastparticiple/#:~:text=%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%201%20(Base%20Form,Passive%20Voice%20%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%20Past%20Participle-    https://ภาษาอังกฤษออนไลน์.com/สรุปหลักการใช้-12-tense-ฉบับย่อ/ ที่มารูปภาพ : https://pixabay.com/photos/woman-books-youthful-to-study-4118058/